วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


เทคโนโลยี cloud computing

คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับ ความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลาโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำ งานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไรการทำงานคร่าวๆของ Cloud Computing แบ่งออกได้ 2 ฝั่ง คือ Client กับ Server โดยการทำงานที่ฝั่ง Client ไม่มีอุปกรณ์อะไรยุ่งยาก นอกจากคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆเพียงเครื่องเดียว ใช้ Internet Browser สักตัวมาเปิดแล้วก็ทำงานได้เลย ทำให้คุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรมากมายให้นักเครื่องอีกต่อไป ซึ่งต่างกับฝั่ง Server ซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างๆมากมายเต็มไปหมด ในปัจจุบันอาจจะดูได้จากการทำงานร่วมกันของระบบ Google Chrome ไม่ว่าจะเป็น Google Doc, Google Calendar เป็นต้น
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Cloud Computing มีอะไรบ้าง
 Agility ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนทุกอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว
    Cost ช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร
    Device and location independence ทุกที่ทุกเวลา ขอแค่คอมพิวเตอร์ กับ Internet    Connection
    Multi-tenancy สามารถแบ่างทรัพยากรไปให้ผู้ใช้จำนวนมาก
    Reliability ความน่าเชื่อถือ มีความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามข้อมูลต่างๆมากแค่ไหน
    Scalability พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการ ความต้องการของผู้ใช้ และเตรียมรองรับเทคโนโลยีหลายๆรูปแบบ
 Security สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ และยิ่งใน Cloud Computing แล้วข้อมูลอรวมอยู่ที่เดียวกัน ก็ยิ่งต้องเพิ่มความ    ปลอดภัยให่มากยิ่งขึ้น
    Sustainability โครงสร้างที่แข็งแรงต้องอาศัยความแข็งจากทุกส่วนรวมกัน
Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่ในปัจจุบันนี้กำลังได้รับการจับตามองอย่างมาก และกำลังอยุ่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ขยายวงกว้างมากขึ้นโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ โดยในปัจจุบันนี้นั้นเทคโนโลยี Cloud Computing นั้น ได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยในเรื่องของโครงข่ายข้อมูลที่กำลังพัฒนาไป ได้อย่างรวดเร็ว โดยเจ้าเทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมต่อความเร็วสูงและรองรับข้อมูล มัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลสมัยๆอย่างอื่นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ Cloud Computing นั้นสร้างความสนใจกับบรรดาเหล่าบริษัทน้อยใหญ่ขึ้นมาเป็นอย่างมาก
โดยองค์ประกอบของการใช้บริการจาก Cloud Computing นั้น เพียงผู้ใช้งานนั้นมีเพียงแค่อินเตอร์เนทก็สามารถใช้งานบริการนี้ได้แล้ว วึ่งในปัจจุบันนั้นมีผู้ที่ให้บริการต่างๆมากมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจน ถึง ขนาดใหญ่ โดยมีรูปแบบออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานมากแบบแยกชิ้นมากยิ่่งขึ้น นั้นก็คือ ผู้ใช้งานนั้นสามารถเลือกใช้ประเภทการให้บริการและจำนวน application ต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งานจริง โดยจะเสียค่าใช้งานได้ตามปริมาณที่เราเลือกใช้งาน

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

DLNA

DLNAคืออะไร


อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก Digital Living Network Alliance หรือ DLNA จะอนุญาตให้ท่านทำการแบ่งปันคอนเทนท์ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบๆ บ้านของท่านผ่านทางเครือข่าย Wi-Fi® ของท่านในบ้าน. ตัวอย่างเช่น, ท่านสามารถที่จะเซ็ตอัพเครื่องคอมพิวเตอร์ VAIO® ของท่านเป็น DLNA server และเปิด เพลง, วิดีโอ และรูปถ่ายต่าง ๆ ที่บนเครื่องทีวีของท่าน . Sony® ได้ผลิตอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ออกมามากมายเช่น เครื่องเล่น Blu-ray™ Disc , เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของ Sony , เครื่องแทปเล็ตและอื่น ๆ อีกมากมาย.

ทำงานได้อย่างไร ?

อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA สามารถที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านได้เหมือนกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน. เมื่อทำการเชื่อมต่อได้แล้ว, ท่านสามารถจะเลือกดูโฟล์เดอร์ที่เลือกไว้ในเครื่องพีซีที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ของมีเดียของท่าน จากบนหน้าจอทีวีได้เลย และเลือกเพลงเพื่อเปิดฟัง หรือดูรูปถ่าย และวิดีโอต่างๆ เพื่อเปิดดูได้.
แอพพลิเคชั่นสำหรับแบ่งปันไฟล์เช่น Windows Media® Player, ซอฟต์แวร์ VAIO® Media server , Serviio™ DLNA Media server, Twonky® suite หรือ EyeConnect UPnP™ AV Media Streaming Software จะทำการเชื่อมต่อให้ระหว่าง ทีวี และเครื่องคอมพิวเตอร์.
ไฟล์เพลงต่าง ๆ จะมีการแสดงตาม ชื่อเพลง ชื่อศิลปิน วันที่ออก และรูปศิลป์ของหน้าปก, ในขณะที่รูปถ่ายจะแสดงเป็นรูปตัวอย่างขนาดเล็ก(thumbnails)เพื่อที่จะช่วย ให้การเลือกทำได้อย่างรวดเร็ว. ส่วนวิดีโอต่าง ๆ จะทำการแสดงตามชื่อไฟล์ . ท่านเพียงทำการเลื่อนไปยังไฟล์เพลง วิดีโอ หรือรูปถ่ายที่ต้องการ

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556


ipv4 และ ipv6 คืออะไร

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะ ติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว
ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334